“เราติดหรือยังนะ?” ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดโควิด-19

เราติดหรือยังนะ

ช่วงนี้การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หลายคนอาจเป็นกังวลว่าตนเองติดโควิด-19 หรือเราติดหรือยังนะ มาเช็คกันว่าคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงไหม

“เราติดหรือยังนะ?” ใครบ้างที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดโควิด-19

 

แม้ว่าโควิด-19 จะอยู่กับเรามาเป็นระยะเวลาปีกว่าๆ แล้ว แต่เนื่องด้วยการระบาดที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นในหลายระลอก ทำให้หลายคนอาจรู้สึกเป็นกังวลว่าตัวเองติดโควิด-19 แล้วหรือเปล่า หรือแม้กระทั่งไปพื้นที่เสี่ยงมานี่ถือว่าเสี่ยงหรือไหม คิดมากและเป็นกังวลไปหมด

วันนี้ TOTO จะพาคุณมาหาคำตอบว่า “กลุ่มเสี่ยง” ในที่นี้หมายถึงใครบ้าง และใครกันที่ “เสี่ยงสูง” ใครกันที่อยู่ในกลุ่ม “เสี่ยงต่ำ”

 

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง

คือผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 และเข้าข่ายเกณฑ์ดังต่อไปนี้

1.1 อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน

1.2. ผู้ป่วยไอ หรือ จามใส่ โดยไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย

1.3. อยู่ใกล้กับผู้ป่วยในระยะไม่เกิน 1 เมตร และนานหลายนาที ซึ่งถ้าพูดคุยกัน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อต้องนานกว่า 5 นาที ส่วนถ้านั่งอยู่ในสถานที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท ต้องนานกว่า 15 นาที รวมไปถึงการโดยสารระบบขนส่งสาธารณะ 2 แถวหน้า-หลังของผู้ป่วยโดยไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย

1.4. รับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มจากภาชนะเดียวกัน อุปกรณ์รับประทานอาหารชิ้นเดียวกัน

1.5. อยู่ในสถานที่เดียวกันกับที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

หากพบว่าเข้าข่ายเกณฑ์ในข้างต้น และประกอบกับไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย จัดว่าอยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ควรตรวจหาเชื้อโควิด-19 และจะต้องกักตัวดูอาการ 14 วัน

 

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ

ทุกคนที่ไม่ได้พูดคุย ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ ไม่ได้พบเจอ ไม่ได้อยู่ในห้องปิด หรือไม่ได้รับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในสถานที่เดียวกัน (แต่ไม่ได้นั่งโต๊ะใกล้ๆ กัน) อยู่คอนโด หรือหมู่บ้านเดียวกัน (แต่ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรด้วยเป็นพิเศษ ยกเว้นเข้าไปใช้บริการที่สาธารณะอย่าง ฟิตเนส สระว่ายน้ำ ห้องน้ำในสโมสรหมู่บ้านเดียวกัน) ใช้บริการสถานที่ใหญ่ๆ ที่เดียวกัน เช่น ห้างสรรพสินค้า (แต่ไม่ได้เข้าไปใช้บริการในร้านเดียวกัน) เป็นต้น

กลุ่มนี้ไม่มีความจำเป็นต้องกักตัว แต่ให้สังเกตอาการตัวเองใน 14 วัน ถ้าหากมีอาการให้รีบตรวจหาเชื้อทันที ในระหว่างนั้นให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องออกจากบ้าน หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่แออัด หรือพบปะพูดคุยกับผู้คนนอกบ้าน เว้นระยะห่างทางสังคม รวมไปถึงหมั่นล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง หลังจากสัมผัสสิ่งของ

 

สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 แล้วอยู่ระหว่างการรอผลตรวจ หรืออยู่ในช่วงที่ต้องกักตัวเอง 14 วัน นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “ขอให้ปฏิบัติให้ครบ 14 วัน หากครบแล้วจากนี้ก็ดูแลตัวเองให้ดี ใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ตามวิถีชีวิตใหม่ แต่ระหว่างนี้หากมีอาการไม่สบาย ให้แจ้งมาที่สายด่วน 1669 1330 หรือ 1668 ว่ามีอาการไม่สบาย จะมีการให้คำแนะนำ หรือหากผลเป็นบวกแล้วให้ประสานเข้ามาที่เบอร์ดังกล่าว การไป รพ.ต้องสวมหน้ากาก ไม่ควรเดินทางด้วยรถสาธารณะ โดยระบบจะมีเจ้าหน้าที่ รถพยาบาลมาดูแล”

ขอขอบคุณรูปภาพจาก: กรมควบคุมโรค

 

ปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยหลัก D-M-H-T-T

ปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยหลัก D-M-H-T-T

แม้ว่าคุณจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง แต่การที่ดูแลป้องกันตัวเองเพื่อลดโอกาสในการติดเชื้อ โควิด-19 โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

D: Social Distancing เว้นระยะห่าง 1-2 เมตร หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด

M: Mask Wearing สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

H : Hand Washing ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์

T : Testing การตรวจวัดอุณหภูมิสม่ำเสมอและตรวจหาเชื้อโควิด-19 (เฉพาะในกรณีที่มีอาการหรือมีความเสี่ยง)

T : Thai Cha Na สแกนไทยชนะก่อนเข้า-ออกสถานที่สาธารณะทุกครั้ง เพื่อให้มีข้อมูลในการประสานงานได้ง่ายขึ้น ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 

ไวรัสโควิด-19 อาจเป็นภัยร้ายที่ดูใกล้ตัวเข้ามามากขึ้นทุกที แต่หากเราหมั่นดูแลป้องกันตัวเองอยู่เสมอก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงลงไปได้ ทั้งนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโควิด-19 คือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีระบบอัตโนมัติ เช่น โถสุขภัณฑ์อัตโนมัติ หรือฝารองนั่งอัตโนมัติ เนื่องจากมีระบบฝารองนั่งเปิด-ปิดอัตโนมัติ (AUTO OPEN/CLOSE LID) เมื่อผู้ใช้งานเข้าใกล้โถสุขภัณฑ์, ระบบชำระล้างอัตโนมัติ (AUTO FLUSH) เมื่อใช้งานเสร็จสิ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสปุ่มกดชำระล้างอันเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงมีระบบทำความสะอาดด้วยน้ำที่ผ่านการอิเล็กโตรไลซ์ (EWATER+) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยลดเชื้อแบคทีเรียภายในโถสุขภัณฑ์และก้านฉีดชำระ เพื่อสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ

โถสุขภัณฑ์อัตโนมัติ

 

นอกจากโถสุขภัณฑ์อัตโนมัติที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีไร้สัมผัสแล้ว ยังมีก๊อกน้ำเซนเซอร์ ที่ใส่สบู่เหลวเซ็นเซอร์ โถปัสสาวะชายแบบเซนเซอร์สำหรับคุณผู้ชาย และเครื่องเป่ามือ  เรียกได้ว่ามีอุปกรณ์ภายในห้องน้ำให้เลือกสรรอย่างครบครัน ที่ทำให้คุณไม่ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง อุ่นใจได้แม้ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่น

 

ลดการสัมผัส… เท่ากับ ลดความเสี่ยงจากโรคร้าย

 

หากคุณกำลังมองหาโถสุขภัณฑ์อัตโนมัติสำหรับยุค New Normal ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ TOTO Technical Center Bangkok

☎️ 02-117-9520

 

คลิกชมสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่…

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

>> สุขภัณฑ์สำหรับยุค New Normal เพื่อสุขอนามัยที่มากกว่า

>> ห้องน้ำอัจฉริยะ เทรนด์ห้องน้ำแห่งอนาคตที่ต้องมีในบ้านคุณ

>> แบคทีเรีย! วายร้าย… ที่แฝงอยู่ในห้องน้ำคุณ

——————————————-

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

>> เสี่ยง “โควิด-19” แค่ไหน ถึงควรไปตรวจ?

>> แบบไหนเรียกว่าสัมผัสเสี่ยงสูง??

>> ‘โควิด-19’ ใกล้แค่ไหน ถึงเรียกว่า ‘เสี่ยงสูง’ เสี่ยงแล้วต้องทำอย่างไร?

>> เช็คประวัติ ‘อาการโควิด-19’ แบบไหน ต้องรีบไปตรวจหาเชื้อ?

>> ฉันอยู่ตรงไหนของการระบาด? วิธีเช็กความเสี่ยงเมื่อพบผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ในจังหวัด

>> ไกลผู้ป่วยโควิด-19 แค่ไหน คือใกล้ความเสี่ยงสูง?

>> กฎแห่งการ กักตัว ใครบ้างต้องกักตัว ต้องปฏิบัติอย่างไรตลอด14 วัน เพื่อหยุดเชื้อโควิด-19

>> สำหรับคนสงสัยว่าติดเชื้อ COVID-19

>> ยึดหลัก D-M-H-T-T ป้องกันโควิด-19

>> ยึดหลัก D-M-H-T-T เพื่อรับมือ COVID-19 ระลอกใหม่

Other News

View All
5 เทคนิคแต่งห้องน้ำมินิมอลให้สวยโดนใจ
Aug 9, 2021

5 เทคนิคแต่งห้องน้ำมินิมอลให้สวยโดนใจ

+
อ่างล้างหน้าแบบไหนดี? เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน
Aug 9, 2021

อ่างล้างหน้าแบบไหนดี? เลือกอย่างไรให้เหมาะกับการใช้งาน

+
5 สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาฝักบัวน้ำไม่แรง
Aug 6, 2021

5 สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาฝักบัวน้ำไม่แรง

+
Please wait